B.L.A.

Bachelor of Landscape Architecture Program

หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Landscape Architecture Program)

ARCHCMU

เกี่ยวกับหลักสูตร


หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Landscape Architecture Program) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอย่างสร้างสรรค์และยั่งยืนแก่สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม โดยประยุกต์ใช้อัตลักษณ์ของท้องถิ่น และความรู้ทางภูมิสถาปัตยกรรมมาดำเนินการออกแบบ และแก้ไขปัญหา ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมอย่างมีเอกลักษณ์ทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล

รหัสและชื่อหลักสูตร

- ภาษาไทย -
ภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (ภ.สถ.บ.)

- ภาษาอังกฤษ -
Bachelor of Landscape Architecture (B.L.A.)

รูปแบบของหลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 168 หน่วยกิต

วัตถุประสงค์


เพื่อผลิตบัณฑิตที่

  • มีความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญในการวางผังและออกแบบภูมิทัศน์ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยสามารถประกอบวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมได้ตามมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ
  • สามารถออกแบบในแนวอนุรักษ์และพัฒนาภูมิสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นให้มีความโดดเด่นในระดับสากล ตลอดจนนำเอาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาประยุกต์ในงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม
  • สามารถใช้องค์ความรู้ทางภูมิสถาปัตยกรรมแบบบูรณาการโดยมุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการออกแบบ เพื่อการรักษาความสมดุลของสภาพแวดล้อม โดยตระหนักในคุณค่าและความงามของธรรมชาติ และเพื่อตอบสนองต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • มีคุณธรรม จริยธรรมรวมถึงการมีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพทางภูมิสถาปัตยกรรมในอนาคตต่อไป

ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร


  • PLO 1 วางผังและออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องได้ตามจรรยาบรรณและมาตรฐานวิชาชีพ
  • PLO 2 ออกแบบแนวอนุรักษ์และพัฒนางานภูมิสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นได้ในระดับสากล
  • PLO 3 ออกแบบและพัฒนางานภูมิสถาปัตยกรรมได้อย่างยั่งยืน
  • PLO 4 นำเสนอและสื่อสารได้ในระดับสากล

แผนการเรียน



ชั้นปีที่ 1


เข้าใจพื้นฐานการออกแบบทางศิลปะ หลักการออกแบบสถาปัตยกรรมเบื้องต้น การเขียนแบบโครงสร้างและการนำเสนอแบบสถาปัตยกรรมเบื้องต้น เข้าใจปัจจัยที่มีผลต่อภูมิสถาปัตยกรรมตามบริบทของพื้นที่

ชั้นปีที่ 2


เข้าใจหลักการออกแบบก่อสร้างและแนวคิดพื้นฐานการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม เข้าใจระบบนิเวศตามบริบทพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่สะท้อนความเป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมและความเป็นพื้นถิ่น สามารถนำเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาประยุกต์ในงานภูมิสถาปัตยกรรมตามบริบทของพื้นที่ได้ รวมถึงสามารถบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการนำเสนอผลงานทางวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมได้อย่างเหมาะสม

ชั้นปีที่ 3


เข้าใจการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมในระดับเมือง หรือกลุ่มชุมชนเมืองที่มีปัจจัยการใช้พื้นที่สาธารณะ ข้อกฎหมายการออกแบบพื้นที่สาธารณะ รวมถึงการออกแบบรายละเอียดที่ตอบสนองการใช้งานของคนทุกกลุ่มในโครงการ

ชั้นปีที่ 4


เข้าใจการออกแบบวางผังพื้นที่ขนาดใหญ่ กระบวนการออกแบบวางผังนิเวศภูมิทัศน์ จรรยาบรรณการประกอบวิชาชีพและข้อกฎหมายการออกแบบวางผังพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อม สามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้นิเวศวิทยาและการออกแบบสภาพแวดล้อมได้อย่างเป็นระบบ สามารถบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการวิเคราะห์และออกแบบสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและยั่งยืน

ชั้นปีที่ 5


วิทยานิพนธ์ทางภูมิสถาปัตยกรรม กระบวนการออกแบบวางผังและการนำเสนองานในการประกอบวิชาชีพ สามารถคิดสังเคราะห์ บ่งชี้ปัญหาที่นำไปสู่การวางผังและออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมได้ สามารถบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการวางผัง และออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อการปฏิบัติวิชาชีพภูมิสถาปัตยกรรมและนำเสนอผลงานได้อย่างเหมาะสมในระดับสากล

ค่าธรรมเนียมการศึกษา


  • 29,000 บาท ต่อภาคการศึกษา

แนวทางประกอบอาชีพ


  • งานวิชาชีพสถาปนิก เช่น สถาปนิกภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาปนิกอิสระ
  • งานรับเหมา บริหารจัดการงานก่อสร้าง และงานควบคุมดูแลอาคาร
  • อาจารย์สอนในสถาบันการศึกษา
  • งานอื่นๆ ทางการออกแบบ ที่ใช้ทักษะทางศิลปะ การบริหารจัดการ และการจัดการที่สามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์ช่วยในงานนั้นได้

การรับรองคุณภาพมาตรฐานหลักสูตร


การรับรองคุณภาพมาตรฐานหลักสูตร


หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560)


สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
รับทราบเมื่อ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560


อ้างอิงจาก http://www.mua.go.th/users/bhes/MUA_CURR/CurrCer2.html

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)


ผู้ช่วยศาสตราจารย์
สถาปนา กิตติกุล
sathapana.k@cmu.ac.th
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
วรสิทธิ์ ตันตินิพันธุ์กุล
worrasit.tan@cmu.ac.th
อาจารย์ ดร.
อัมพิกา อำลอย
aumpika.amloy@cmu.ac.th
รองศาสตราจารย์ ดร.
กษมา พลกิจ
kasama.polakit@cmu.ac.th
ผู้ช่วยศาสตราจารย์
รณวีร์ สุวรรณทะมาลี
ronawee.s@cmu.ac.th