M.S. (Architecture)

Master of Science (Architecture)

วิทยาศาสตรมหาบัณทิต (สถาปัตยกรรม)

ARCHCMU

PROGRAM DESCRIPTION


Program Information


หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม (วท.ม.)

เป็นหลักสูตรวิชาชีพขั้นสูง ที่มุ่งหมายในการขอรับรองหลักสูตรในเชิงวิชาชีพจากสภาสถาปนิก ดังนั้น จึงมีโครงสร้างวิชาตามเกณฑ์มาตราฐานวิชาชีพ ที่นอกเหนือไปจากเกณฑ์มาตราฐานทางวิชาการ ดังนั้น ทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติวิชาชีพเป็นหลักที่ผู้ใช้บัณฑิตอาจมีความต้องการที่เน้นแตกต่างกันไปตามความหลากหลายของอัตลักษณ์ขององค์กร ความต้องการและคาดหวังของนักเรียนและนักศึกษาต่อการสอบเข้าและเรียนรู้จึงมีความเข้าใจถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (PLOs) โดยที่หลักสูตรจะเน้นความคิดสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเชิงประยุกต์ร่วมกับบริบทท้องถิ่นร่วมสมัย ความเข้าใจในวัสดุท้องถิ่นออกแบบให้เกิดความเหมาะสมยั่งยืน และพัฒนาความเป็นอยู่ (well-being) ของชุมชน (community) อย่างสร้างสรรค์ ทั้งนี้ จะคำนึงถึงความรับผิดชอบ คุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ตามผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีและวิชาชีพ โดยตัวชี้วัดผลลัพธ์จะสะท้อนจากกระบวนวิชาออกแบบซึ่งเป็นหมวดวิชาหลักของเกณฑ์สภาวิชาชีพที่มีองค์ประกอบของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ครบถ้วนและกำหนดให้มีพัฒนาการทางของทักษะเพิ่มขึ้นในแต่ละชั้นปีตามกระบวนการและความซับซ้อนของการคิดวิเคราะห์และการออกแบบสถาปัตยกรรม

Philosophy


เป็นหลักสูตรเพื่อต่อยอดการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมตามกรอบการรับรองหลักสูตรของสภาสถาปนิก ที่มุ่งเน้นการศึกษาเชิงลึก 3 ประการ ได้แก่ Craft-Community-Creativity ซึ่งหมายถึง การสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมจากบริบทท้องถิ่น ความเป็นชุมชน และความคิดสร้างสรรค์ ธรรมชาติของหลักสูตรจึงเน้นการปฏิบัติวิชาชีพ พัฒนาแนวคิดการออกแบบ และผลักดันให้นักศึกษาได้เรียนรู้จักกับเครื่องมือการออกแบบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติจริง สำรวจชุมชนจริง นักศึกษาจะได้เรียนรู้การนำความคิดสร้างสรรค์ (creativity) มาบูรณาการในการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความเป็นชุมชน (community) และการสร้างสรรค์งานหัตถสถาปัตยกรรม (Craft Architecture) ทั้งในแง่มุมการสร้างสรรค์พื้นที่เมืองพื้นที่ชุมชนแบบใหม่ (SDG11) การใช้นวัตกรรมเชิงพื้นที่ในการแก้ปัญหาและส่งเสริมชีวิตผู้คนให้มีสุขภาพดี (well-being) และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีต่อชุมชน (SDG3) หรือส่งเสริมการแก้ปัญหาด้วยการออกแบบเชิงอุตสาหกรรมชุมชนที่ครอบคลุมและยั่งยืน (SDG9)

Objectives


To enables graduates to:
  1. สามารถคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมเชิงประยุกต์ร่วมกับบริบทท้องถิ่นร่วมสมัย
  2. มีทักษะในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมร่วมกับวัสดุท้องถิ่นให้เกิดความเหมาะสมและยั่งยืน
  3. มีทักษะการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมในเชิงวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ (well-being) ของชุมชน (community) อย่างสร้างสรรค์
  4. พัฒนาบัณฑิตให้มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพให้สอดคล้องตามมาตรฐานการเรียนรู้ของสภาสถาปนิก

Program Statement


The Jointed Master of Architecture International Program between Chiang Mai University and Kyoto Institute of Technology foster students to explore through the parallel universe of:
  • Design and research
  • Traditional wisdom and innovation
  • Intuition and body of knowledge
  • Conservation and futurism
  • Thailand and Japan
To competently be able to solve technological, environmental and human-behavioral problems in the international level of professional practice.

Career Opportunities


  • อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิจัย
    • นักวิชาการ
    • สถาปนิก
    • นักออกแบบ นักคิด นวัตกร

CURRICULUM


curriculum

COURSE INSTRUCTORS


HEAD INSTRUCTORS


  1. รศ.ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์
  2. รศ.ดร.สุมาวลี จินดาพล
  3. ผศ.ดร.จิรันธนิน กิติกา

Tuition Fee


  • แผน 2 (แบบวิชาการ) 144,000 บาท ตลอดหลักสูตร (ปีการศึกษาละ 72,000 บาท/ภาคการศึกษาละ 36,000 บาท)
  • แผน 3 (แบบวิชาชีพ) 144,000 บาท ตลอดหลักสูตร (ปีการศึกษาละ 72,000 บาท/ภาคการศึกษาละ 36,000 บาท)

ADMISSION PROCESS


JOINT DEGREE MASTER OF ARCHITECTURE PROGRAM IN ARCHITECTURE FOR ACADEMIC YEAR 2020 ADMISSION
Schedule/Intake Intake
Application Period
- Internet
February 18 – April 30, 2018
Written and interview May 8, 2020
Announcement of admission results May 20, 2020

CONTACT


Master of Science (Architecture)

Faculty of Architecture, Chiang Mai University
239, Huay Kaew Road, Muang District
Chiang Mai, Thailand, 50200

Tel: +66 (0) 5394 2816 (Ms. Atcharawadee Janthakrua)
Fax: +66 5322 1448
E-mail: nattikan.k@cmu.ac.th

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม


รองศาสตราจารย์ ดร.
สันต์ สุวัจฉราภินันท์
sant.s@cmu.ac.th
รองศาสตราจารย์ ดร.
สุมาวลี จินดาพล
sumavalee.ch@cmu.ac.th
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
จิรันธนิน กิติกา
chiranthanin.kitika@cmu.ac.th